ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง

โครงการได้ติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย คุณภาพอากาศในบรรยากาศ ระดับเสียงโดยทั่วไป และความสั่นสะเทือน จำนวน 3 สถานี ในช่วงกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2566 ตามข้อกำหนดในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย เป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

การติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ

ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2566 พบว่า ดัชนีคุณภาพอากาศส่วนใหญ่ มีค่าอยู่ในมาตรฐานกำหนดตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2547) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2538) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป และประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป

การติดตามตรวจสอบระดับเสียงโดยทั่วไป

ผลการติดตามตรวจสอบระดับเสียงโดยทั่วไป ได้แก่ ระดับเสียงเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 และระดับเสียงเฉลี่ยกลางวัน-กลางคืน ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2566 พบว่า ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง และระดับเสียงสูงสุด ส่วนใหญ่มีค่าไม่อยู่ในมาตรฐานกำหนดตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ยกเว้น ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เนื่องจาก จุดติดตามตรวจสอบตั้งอยู่บนทางเดินเท้าริมถนนกรุงธนบุรี ซึ่งมีปริมาณจราจรค่อนข้างหนาแน่นจึงทำให้มีระดับเสียงเกินมาตรฐานฯ ในขณะที่ระดับเสียงเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 และระดับเสียงเฉลี่ยกลางวัน-กลางคืน ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานกำหนด

การติดตามตรวจสอบความสั่นสะเทือน

ผลการติดตามตรวจสอบความสั่นสะเทือน ได้แก่ ความสั่นสะเทือน (Peak Particle Velocity) และความถี่ (Frequency) ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2566 พบว่า ดัชนีความสั่นสะเทือนทั้งหมด มีค่าอยู่ในมาตรฐานกำหนดตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร

Scroll to Top