ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง
การติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ
ผลการติดตามตรวจสอบระดับเสียงโดยทั่วไป ได้แก่ ระดับเสียงเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ระดับเสียงสูงสุด ระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 และระดับเสียงเฉลี่ยกลางวัน-กลางคืน ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2565 พบว่า ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าเกินมาตรฐานกำหนดตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป เนื่องจาก จุดติดตามตรวจสอบตั้งอยู่บนทางเดินเท้าริมถนนสุขุมวิท ซึ่งมีปริมาณจราจรค่อนข้างหนาแน่นจึงทำให้มีระดับเสียงเกินมาตรฐานฯ และระดับเสียงสูงสุดมีค่าอยู่ในมาตรฐานฯ ในขณะที่ระดับเสียงเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 และระดับเสียงเฉลี่ยกลางวัน-กลางคืน ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานกำหนด
การติดตามตรวจสอบระดับเสียงโดยทั่วไป
ผลการติดตามตรวจสอบระดับเสียงโดยทั่วไป ได้แก่ ระดับเสียงเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ระดับเสียงสูงสุด ระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 และระดับเสียงเฉลี่ยกลางวัน-กลางคืน ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2565 พบว่า ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าเกินมาตรฐานกำหนดตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป เนื่องจาก จุดติดตามตรวจสอบตั้งอยู่บนทางเดินเท้าริมถนนสุขุมวิท ซึ่งมีปริมาณจราจรค่อนข้างหนาแน่นจึงทำให้มีระดับเสียงเกินมาตรฐานฯ และระดับเสียงสูงสุดมีค่าอยู่ในมาตรฐานฯ ในขณะที่ระดับเสียงเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 และระดับเสียงเฉลี่ยกลางวัน-กลางคืน ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานกำหนด
การติดตามตรวจสอบความสั่นสะเทือน
ผลการติดตามตรวจสอบความสั่นสะเทือน ได้แก่ ความสั่นสะเทือน (Peak Particle Velocity) และความถี่ (Frequency) ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2565 พบว่า ดัชนีความสั่นสะเทือนทั้งหมด มีค่าอยู่ในมาตรฐานกำหนดตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร